ว่ากันว่านักแข่งโมโต จีพี กดเบรคเบาๆ เพียง 1.5 g เท่านั้น เมื่อเทียบกับรถสูตรอีกเวทีอย่าง F1 ที่เผยน้ำหนักเบรคที่ 5 g ทั้งหมดเพื่อเบรคทำงานและหยุดรถ แน่นอนกริปของรถ 4 ล้อมันมากกว่า ศักยภาพเบรคเหลือๆ นักแข่งที่บรรจุอยู่ข้างในกับความเร็วที่หวดมา 300 อัพนั้นจะถูกโยนไปข้างหน้าขนาดใหนกับโมเมนตั้งดังกล่าว กับรถ 4 ล้อเราพอเบาใจได้เมื่อมีเข็มขัดรัดแน่นเปี๊ยะ
กับมอเตอร์ไซค์อย่าง โมโต จีพีหล่ะ !?
Mat Oxley สื่อสองล้อในตำนานเปิดเผยประสบการณ์สุดหลอน เมื่อยังหนุ่มเฟี้ยวได้โอกาสทดสอบตัวแข่งแชมป์โลก WGP 500 ปี 1995 ของ “จิงโจ้ไฟ”ไมเคิล ดูฮาน ที่คาตาลัน วันนั้นเจอร์เรมี่ เบอร์เกต แม็คคานิกซ์มือทองของน้ามิคกระซิบข้างหูว่า รถจูนมาเต็ม พร้อมออฟชั่นแบบที่ดูฮานใช้ลงสนามจริง เช่น ดิสเบรคคาร์บอน(ปกติเปิดทดสอบให้สื่อจะเป็นจานเหล็ก)
รอบสองรอบสามค่อยๆ ผ่านไป เมื่อเริ่มเข้าที่ยางอุ่น เครื่องร้อนความมั่นใจตามมา ก่อนสาวเข้าโค้งด้วยความเร็วร่วม 120 ไมล์ต่อชั่วโมง เจ้าตัวเผลอจัดหนักใส่เบรคคาร์บอนวินาทีนั้นเหมือนโลกหมุนทันที จินตาการท่าลอยเคว้ง น้องนุ่งล้อเลียนกับการพาตัวแข่งแชมป์โลกไปล้มคว่ำหมุนในหัวหลายรอบขณะที่ตัวหมุนโครงเครงจะกลิ้งไม่กลิ้งแหล่ นึกได้ในใจคำเดียวว่า......สะบัดต่อไม่รอแล้วนะ อ้าว !
ล่าสุดกลับจากประเทสญี่ปุ่นเปิดตัวกับการแข่งขันโมโต จีพีสนามที่ 7 ที่คาตาลัน “เจ้าอมยิ้ม”ฆอเก้ โรเลนโซ่ ดาวบิดสเปนนอกจากจะเปิดหมวกใหม่เป็นลางรูปหัวกระโหลกแล้ว ยังเปิดออฟชั่นใหม่เป็นวิงเลทเล็กๆ ที่ถังน้ำมัน นั่นคือของใหม่ชิ้นแรกที่ได้กลับมาและใช้ทันทีหลังจากที่เจ้าตัวไปเคลียร์ความต้องการกับต้นสังกัดอย่างฮอนด้าถึงรัง
เบรมโบ้ให้ข้อมูลเชิงวิเคระห์ก่อนหน้านี้เมื่อเทียบแม็พข้อมูลการใช้เบรคของอมยิ้มเทียบกับนักแข่งฮอนด้าคนอื่นๆ และเทียบกับเมื่อครั้งเจ้าตัวขี่ดูคาติว่า ปัญหาที่แท้ทรูของฆอเก้ โรเลนโซ่คือเรื่องของจุดเบรคของรถแข่งคันใหม่ของเค้า ช้าก่อนท่านทั้งหลาย รู้ว่าแอบคิด แต่มันไม่ได้หมายความว่ารถยามาฮ่าคันเดิมถ้าฆอเก้ โรเลนโซ่กลับไปขี่แล้วจะดีดังเดิม แต่มันหมายถึงว่า เทคโนโลยีมันก้าวมาไกลแล้ว และทุกอย่างมันเดินหน้า ....ไม่เหมือนเดิม
โลกหมุนไป รถแข่งแรงขึ้น ทีมงานผลิดยางก็ผลิตยางที่เกาะมากขึ้น ทีมงานทำรถก็สร้างแชสซีที่มันแข็งแรงขึ้น สร้างแฟริ่งที่มีดาวฟอชเพิ่มแรงกดมากขึ้น รถสามารถสาวเข้าหาโค้งด้วยศักยภาพที่ดีกว่าเดิม จุดเบรคลึกกว่าเดิม มันคือความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทำให้ศักยภาพในสนามของรถแข่งนั้นเพิ่มมากขึ้น
ในขณะที่เลือดเนื้อของมนุษย์ ยังคงเหมือนเดิม !
ทุกครั้งที่กดเบรค น้ำหนักตัวของนักแข่งบวกกับชุดแข่งและอุปกรณ์ร่วมสิบกิโลต้นๆ 80 เปอร์เซ็นต์จะถูกเททับไปที่ข้อมือทั้งสองข้าง นั่นคือการเบรคหนึ่งครั้ง นั่งนึกพร้อมนับนิ้วมือเล่นๆ ว่า ....รอบนึงเบรคกี่ครั้ง เกมส์นึงต้องเบรคกี่ครั้ง สนามนึงรวมซ้อมต้องเบรคกี่ครั้ง....
การต่อสู้กับแรงกระทำอันมหาศาลนั้น ขาทั้งสองข้างปลายเท้าจะมันพอทรงตัวก่อนส่วนจะทิ้งขาหรือไม่หลังจากนั้นก็อยู่ที่ความชื่นชอบของนักแข่ง สิ่งที่จะทำให้การเบรคดีขึ้นช่วยให้เกาะติดรถเอาไว้ได้ จัดท่าสู่โค้ง และควบคุมรถได้เร็วก็คือ ขาทั้งสองข้างที่หนีบเอาไว้กับถังหรือตัวรถนั่นเอง
ฆอเก้ โรเลนโซ่รีเควสสิ่งกับฮอนด้าเพื่อช่วยเค้าในจุดดังกล่าว มันไม่ใช่ของใหม่แต่อย่างใด มันเคยเกิดขึ้นแล้วกับตอนที่เค้าขอร้องดูคาติทีมซึ่งแรกๆ ก็โดนเมินหน้าใส่แต่พอจัดให้พี่แกก็ชนะรัวๆ กระนั้นเอยท่านทั้งหลายมันอาจจะไม่ออกมาเป็นปีกกับตอนที่อยู่ดูคาติ นั่นเพราะคาแร็กเตอร์รถต่างกับ มิติ กำลัง ความสามารถของแชสซี แต่ทั้งหมดคือเพื่อช่วยในการควบคุมรถขณะเบรค ซึ่งเป็นปัญหาที่ฆอเก้ โรเลนโซ่ถูกสกัดกั้นไม่ให้ขี่ได้ดั่งใจ
อีกหนึ่งลำคือตัวแข่งดูคาติ จีพี 19 ของหนูแจ็ค แจ็ค มิลเลอร์ ที่การติดตั้งครั้งแรกนั้นถูกแซวว่า เอาไว้เกาะเผื่อรถแข่งทะลึ่งเบาะหลุดอีก(สนามแรกรถของแจ็คเบาะหลุด จนนั่งไม่ได้ และต้องออกจากการแข่งขัน) และเมื่อโรเลนโซ่รู้ดีว่าเค้าต้องการอะไร พร้อมกับทีมเปิดป้อนให้ โรเลนโซ่ได้เจ้าปีกเล็กๆ นี้มาก็เริ่มขี่ได้เร็วขึ้นกับสนามล่าสุดที่คาตาลัน แม้นมันจะเพียงสองรอบสนามก็ตาม
นี่คือความหวังแรก กับอุปกรณ์ชิ้นแรกที่ว่ากันว่าจะตามมาอีกพะเรอเกวียนให้กับสปาตันคนนี้ ซึ่งชี้ชัดว่าต้นสังกัดของเค้าแม้นจะมีห่านไข่ทองคำอายุน้อยระยะเวลาการใช้งานยาวยาวในมือก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ทอดทิ้งยอดนักแข่งไร้มิตรคนนี้แม้แต่น้อย
จบละ (พิมพ์)เหนื่อย !
#อย่าเชื่อแอ๊ดแอ๊ดเดาเอา
ฆอเก้ โรเลนโซ่ ชายผู้ตามหาจังหวะจะโคนของตัวเอง
กลับจากญี่ปุ่นก้ได้รับความสนใจอย่างรุนแรงกับปีกชิ้นใหม่
ไม่ใช่เพียงถังเท่านั้น หน้าเข่าและแข้งส่วนนี้ที่ขาโรเลนโซ่สัมผัส ก็เพิ่มความฝืดเข้ามาด้วยพื้นผิวแฟริ่ง
ปีกเล็กๆ โมเดลแรกก่อนแข่งนั้น เป็น 3D ปริ้นแปะงอกออกมาจากถัง
ปีกโมเดลในการทดสอบวันจันทร์ ที่มีโครงสร้างยึดเกาะข้างในและเจาะทะลุถังหลอกออกมา
โดนรุมทึ้งจวกข้อมูลทันทีที่กลับเข้ามาพิท
นักแข่งคนอื่นก็ให้ความสัมคัญกับการยึดเกาะของขา/ตัวกับรถเช่นกัน แต่เป็นในแนวให้ความฝืด(ในภาพรถของพ่อนาค)
ขอขอบคุณภาพประกอบข่าวจาก www.motogp.com
Page/Twitter/YouTube : MOTO GP Thailandfanclub
Web : www.gpthailandfanclub.com
ขอขอบคุณ สิงห์ คอเปอร์เรชั่น ผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ การแข่งขันโมโต จีพี
#singha#singhaworldofspeed #singhacorporation#motogp#Singhaworldofspeed2019 #แค่คุณเปิดโลกก็เปลี่ยน