บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ผู้ผลิต และจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ผนึกกำลัง สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รอบชิงชนะเลิศประจำปี 2567 ชิงถ้วยพระราชทาน พร้อมทุนการศึกษารวม 120,000 บาท
สำหรับการแข่งขันทักษะวิชาชีพ สาขาวิชารถจักรยานยนต์ยามาฮ่า รอบชิงชนะเลิศ ระดับประเทศ ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน เพื่อเป็นการพัฒนา และเสริมทักษะในสาขาวิชาชีพช่างยนต์ให้กับเหล่านักศึกษาในระดับอาชีวศึกษา เพื่อการผลิตช่างในสาขาวิชาช่างยนต์สำหรับรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย โดยจะต้องใช้ทักษะด้านวิชาชีพที่ได้ทำการเรียนมาประกอบการแข่งขันอย่างแท้จริงกับสถานีแข่งขันทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่
สถานีที่ 1 งานตรวจเช็กระยะห่างวาล์วและคำนวณเปลี่ยนชิมวาล์วเครื่องยนต์ YZF-R3
สถานีที่ 2 งานถอด-ประกอบ ชุดฝาสูบเสื้อสูบและลูกสูบ เครื่องยนต์ YAMAHA NMAX
สถานีที่ 3 งานบำรุงรักษาชุดคลัทช์ เครื่องยนต์ YAMAHA YZF-15
สถานีที่ 4 งานบำรุงรักษารถจักรยานยนต์ YAMAHA FINN
สถานีที่ 5 วิเคราะห์ปัญหาระบบหัวฉีดเชื้อเพลิงรถจักรยานยนต์ YAMAHA GRAND FILANO
สถานีที่ 6 ภาคทฤษฎีพื้นฐานรถจักรยานยนต์ และการคำนวณ
สำหรับการแข่งขันทักษะวิชาชีพ สาขาวิชารถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ได้ทำการแข่งขันในระดับประเทศ เพื่อค้นหา 30 สถาบันเข้าร่วมแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ โดยการแบ่งรอบการแข่งขันในระดับภูมิภาคของสถาบันเทคโนโลยี และอาชีวศึกษาเอกชนภายใต้ สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั่วประเทศ จำนวน 82 สถาบัน ก่อนคัดเหลือเพียง 30 สถาบัน เพื่อเข้าร่วมชิงชัยในรอบชิงชนะเลิศ
พร้อมกันนี้ทาง บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ได้ร่วมมือกับสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดตั้งศูนย์การเรียนการสอนใน 20 สถาบันทั่วประเทศ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีชั้นนำของยามาฮ่าให้กับเยาวชนไทย เพิ่มทักษะความรู้ใหม่ให้ก้าวทันโลกปัจจุบันที่เดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยมีอุปกรณ์การเรียนการสอนในหมวดวิชารถจักรยานยนต์ที่ทันสมัย เทียบเท่าศูนย์บริการผู้จำหน่ายยามาฮ่า และเทคโนโลยีอันทันสมัยของรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า และจัดการอบรมหลักสูตรวิชาชีพชั้นสูงให้กับนักเรียน นักศึกษา รวมถึงครูอาชีวศึกษา ซึ่งในปี 2566 ได้อบรมให้กับ นักเรียน นักศึกษา และครูอาชีวศึกษา ไปแล้วมากกว่า 30 วิทยาลัย นักเรียน นักศึกษาผ่านการอบรมมากกว่า 2,000 คน ทั่วประเทศ