สเปเชี่ยลสกู๊ป : มาช้าแต่มานะ Suzuki GSX-RR เข้าโหมดสายย่อ ครึ่งหลังเตรียมประเคน “เชพชิพเตอร์”(กดท้ายเตี้ย)

สเปเชี่ยลสกู๊ป : มาช้าแต่มานะ
Suzuki GSX-RR เข้าโหมดสายย่อ ครึ่งหลังเตรียมกระเคน “เชพชิพเตอร์”(กดท้ายเตี้ย)

อัพไซด์ดาวน์, บอดี้เวิร์คแบบกดจุดศูนย์ถ่วง, เบรคคาร์บอน, โช้คอัพเดี่ยว, แชสซีอลูมิเนียมอัลลอย, เครื่องยนต์บิ๊กแบง, แทรคชั่นคอนโทรล, ระบบควบคุมเอนจิ้นเบรค, ระบบควบคุมการออกตัว, ระบบอิเล็กทรอนิกซ์, แฟริ่งที่เพิ่มดาวฟอชน์ ฯลฯ....

ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือเทคโนโลยีที่เพิ่มเข้ามาเพื่อยกระดับศักยภาพของตัวแข่งโมโต จีพีในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งน้องหล่าล่าสุดนั้นต้องมองไปที่ 2 ออฟชั่นที่เรียกว่า “โอลช็อต”และ “เชฟ ชิพเตอร์” ซึ่งทั้งสองนี้แน่นอนว่าถูกนำเข้ามาใช้ก่อนใครเพื่อนโดยเจ้าพ่อเทคโนโลยีอย่างดูคาติ ก่อนที่ตัวแข่งโมโต จีพีในสนามจะติดเชื้อไปตาม ๆ กัน

ดูคาติเอาโฮลช็อตลงมาทดสอบและใช้ตั้งแต่ปี 2018 (หนูแจ็คในการแข่งขันที่ไทย) ก่อนที่จะพัฒนาเชฟ ชิพเตอร์ในปี 2019 และพวกเค้าติดตั้งอุปกรณ์นี้เป็นมาตรฐานในตัวแข่งของดูคาติหลังจากนั้น หลักการทำงานของ 2 ออฟชั่นนี้คล้ายคลึงกันแต่ใช้คนละพื้นที่ โฮลช็อตที่อาจจะมีทั้งช่วงหน้าและหลังจะเปิดและใช้งานตอนออกจากกริดสตาร์ท ส่วนเชฟชิพเตอร์จะเปิดก่อนออกโค้งและเบื้องหน้าเป็นทางตรง หลักการคือลดระดับความสูงของรถแข่งลง เพื่อให้เปิดคันเร่งได้เต็มที่มากขึ้น ได้ความเร็วมากขึ้นในทางตรงหรือออกตัวได้ดีขึ้นที่กริดสตาร์ท

อ่านอีกครั้ง

โฮลช็อต คือระบบลดความสูงของรถ อาจจะมีทั้งหน้าหรือหลัง อาจจะเปิด/มีแค่หลังหรืออาจจะเปิด/มีแค่หน้าในบางค่าย ทำให้รถเตี้ยเหมือนรถแดร็กไบค์ ชาร์ทได้เต็มข้อเต็มกำลัง โดยจะเปิดก่อนที่จะออกสตาร์ทเริ่มเกมส์ และกดเบรคหน้าที่โค้งแรกรถจะตัดระบบคืนความสูงค่าปกติให้อีกครั้งก่อนจะแบนโค้งแรก

เชฟชิพเตอร์ คือระบบที่ลดความสูงของล้อหลังที่จะเปิดใช้ก่อนที่นักแข่งจะเดินคันเร่งออกจากโค้ง และมักจะเปิดใช้ในโค้งที่มีทางตรงรออยู่ข้างหน้า ท้ายรถแข่งจะเตี้ยลงและสามารถเดินคันเร่งได้มากขึ้น ความเร็วมากขึ้น บ่างค่ายพัฒนาการทำงานระหว่างแชสซีและสวิงอาร์มเข้าหากันด้วย ล้อหลังจะให้ตัวติดหน่อย(คล้ายโปรอาร์มแต่เป็นการขยับทั้งแชสซีและสวิงอาร์ม) ซึ่งทำให้ยางกินพื้นแทร้คมากขึ้น อัดได้มากและเซฟเนื้อยาง (ดูคาติและเคทีเอ็มกำลังตามมา)

โมโต จีพีทุกค่ายมี 2 ระบบนี้ติดตั้ง ยกเว้นทีมแชมป์โลกอย่าง ซูซูกิ !!!

โฮลด์ช็อตของยามาฮ่าและดูคาติ ที่ดูดรถแข่งลงแนบพื้นตอนออกตัว

การเดินออกจากโค้งแบบเต็มกำลังด้วยเชฟชิพเตอร์

นั่นทำให้พวกเค้าต้องเสียแต้มต่อให้กับคู่แข่งอย่างมาก ตั้งแต่การเริ่มต้นออกจากกริดสตาร์ทที่ต้องมาไล่เก็บเอาทีหลัง และการแข่งขันก็ต้องมาแบกในช่วงทางตรงอีกด้วย ซึ่งถ้ามองไปที่เชฟชิพเตอร์ก็เป็นอีกส่วนประกอบที่ทำให้ซูซูกิเสียเปรียบคู่แข่งตั้งแต่การควอลิฟายเลยทีเดียว(ความเร็วทางตรงอาจจะน้อยกว่า)

โจอัน เมียร์ แชมป์โลกคนปัจจุบันจากเดอะเครซี่แก็งค์ ซูซูกิออกมายืนยันหลังหวดจากกริดที่ 10 ซี่โครงบานขึ้นโพเดียมในอันดับที่ 3 ได้สำเร็จ 

“.....เราต้องทำงานเพื่อให้มีอุปกรณ์พวกนี้ให้เร็วที่สุด ให้สามารถเริ่มต้นเกมส์การแข่งขันด้วยออฟชั่นที่เหมือนกับชาวบ้านชาวช่องเค้า”

แน่นอนว่าจุดเริ่มต้นในเวลาที่ออฟชั่นทั้งสองนี้เข้ามา ซูซูกิก็ได้ยกระดับและพัฒนารถแข่งของพวกเค้าในด้านอื่นๆ (และประสบความสำเร็จด้วย) แต่ ณ เวลานี้จำเป็นต้องยอมรับว่า ออฟชั่นทั้ง 2 อย่างทั้งโฮลด์ช็อตและเชฟชิพเตอร์ ที่มีหลักการทดงานคือ “กดท้าย/ลดระดับความสูงของโช้คอัพหลัง” สามารถสร้างความแตกต่างในการแข่งขันได้เลย

การจะไล่แซงรถแข่งที่มีอุปกรณ์พวกนี้ มีความจำเป็นต้องเพิ่มอัตราเร่งในการเดินออกจากโค้งให้มากขึ้น และเบรคให้ลึกขึ้น ซึ่งนั่นมันคือสองปัจจัยหลักในการบริโภคยางอย่างรวดเร็ว รถที่ไม่มีออฟชั่นทั้งสองจึงรัวกระสุนจนหมดก่อนที่จะจบเกมส์ แม้นว่าซูซูกิจะเลื่องชื่อเรื่องการบริหารยางและเดินออกจากโค้งได้ดีเยี่ยมก็ตาม แต่บัดเดี๋ยวนี้เริ่มจะแบกไม่ไหว

ข่าวดีที่สาวกคนบ้าได้ยิ้มกับเค้าบ้างคือ ซูซูกิกำลังซุ่มพัฒนาอุปกรณ์ทั้งสองอยู่และจะนำมาใช้ในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล แถมมีรายงานอาจจะได้ใช้เลยที่เรดบูลริง สนามแรกหลังเปิดเทอม ซึ่งหลับตาคงนึกภาพออกว่า 2 เรซที่นี่อุดมด้วยการชาร์ทออกจากโค้งและอาบลมในทางตรงขนาดใหน !

“.....ผมหวังว่าจะเป็นอย่างงั้น หวังว่านั่นจะเป็นของขวัญวันคริสมาสตร์สำหรับเรา แม้นว่าไม่มีอุปกรณ์ที่ว่านี้เราก็สามารถมีเวลาต่อรอบที่ได้ได้ แต่เราเสียเปรียบเมื่อต้องแบทเทิ่ล มันทำให้แซงพวกเค้า(ที่มี)ได้ยากขึ้น นั่นจึงเป็นรายละเอียดเล็กน้อยแต่มีผลในการแข่งขันอย่างมาก ความสำคัญของมันขึ้นอยู่กับลักษณะของสนาม เลย์เอาท์ ทางตรง” ชินนิชิ ซาฮาร่า โปรเจ็คลีดเดอร์ควบตำแหน่งผู้จัดการทีมของซูซูกิกล่าว

ซิลแวง กวินโตลลี่ ใช่เวลา 2 วันในการทดสอบล่าสุดที่สนามมิซาโน่ ในซานมาริโน่ แต่ซูซูกิยืนยันว่าไม่มีเนื้อหาของการทดสอบที่เกี่ยวกับโฮลด์ช็อตหรือเชฟชิพเตอร์ที่นั่น ซึ่งซาฮาร่ายืนยันซ้ำว่าตอนนี้พัฒนาและทดสอบมันอยู่ที่ญี่ปุ่นเท่านั้น

การลดระดับของโชคอัพหลังโดยที่กติกากำหนดเอาไว้ว่าไม่เกี่ยวข้องกับระบบอิเล็กทรอนิกซ์นั้นเป็นอะไรที่ยากและซัพซ้อนมาก โฮลด์ช็อตที่ตั้งต้นจากรถหยุดนิ่งที่กริดสตาร์ทว่ายากแล้ว แต่เชฟชิพเตอร์ที่เปิดและปิดใช้ตลอดเกมส์ในช่วงก่อนออกทางตรงนั้นยิ่งซับซ้อนกว่า (เพราะใช้งานบ่อยกว่า)

การที่กติกาห้ามรูปร่างแฟริ่ง ห้ามรูปร่าง ห้ามความสูงของรถเปลี่ยนแปลงด้วยระบบอเล็กทรอนิกซ์ ทำให้ทั้ง 2 ระบบดังกล่าวต้องทำงานด้วยกลไกและระบบไฮดรอลิก ซึ่งจะไปลงน้ำหนักให้โช้คอัพนั้นเปลี่ยนแปลงความสูง ทั้งน้ำมันของโช้คและสปริงโช้คจะถูกอัดลงมากว่าครึ่งนึงของระยะทำการ โดยมีรายงานว่าต้องใช้แรงกดถึง 100 บาร์เลยทีเดียว (มาแค่ใหน... ก็มากกว่า 10 บาร์อยู่ 10 เท่าตัวนั่นแหล่ะคุณ) และเมื่อตัดไม่ให้เกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกซ์แรงกดนี้จะได้มาจากใหน จากปั๊มไฮดรอลิก หรือกำลังจากเครื่องยนต์ การดึงกำลังนั้นมาใช้ การเตรียมโช้คอัพทั้งหน้าและหลังที่มีการตั้งค่าที่ดีในการวิ่ง และการรับการทำงานของอุปกรณ์พวกนี้ จึงเป็นอะไรที่ซับซ้อนซ่อเงื่อนยิ่งนัก

ชินนิชิ ซาฮาร่ากล่าวเรื่องนี้แว่ เอ๊ย ว่า.... 

“เทคโนโลยีนี้เป็นความท้าทายอย่างมาก แน่นอนว่ามันมีความน่าเชื่อถือเรื่องความแน่นอนอยู่เนื่องจากสามารถควบคุมด้วยไฮโดลิกทั้งหมด แต่มันก็จำเป็นต้องได้รับการตั้งค่าที่ถูกต้องและแม่นยำด้วย เพราะมีทีมแข่งหลายทีมเกิดอาการให้เห็นแล้วว่า เมื่อเกิดความขัดข้องสามารถทิ้งการแข่งขันเรซนั้นทั้งเรซได้เลย คุณไม่สามารถเสี่ยงขนาดนั้นได้ แน่นอนมันทำให้มีศักยภาพแต่ต้องไม่ลืมมุมด้านความปลอดภัยและความเสียหาย”

ซูซูกิพัฒนาตัวแข่งเพื่อการแข่งขันอย่างแท้จริง ซึ่งทำให้พวกเค้ามีจุดแข็งในการทำเวลาต่อรอบที่รวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งมันสามารถประสบความสเร็จได้จริง ๆ แต่ครึ่งแรกของซีซั่นที่ผ่านมามันชัดเจนแล้วว่า พวกเค้าเสียแต้มต่อให้กับคู่แข่งขนาดใหน และนักแข่งมือหนึ่งของทีมอย่างโจอัน เมียร์ก็พยายามอย่างถึงที่สุดแล้วกับผลงานที่ทำได้

แม้นจะยังไม่ยืนยันอย่างเป้นทางการ เป็นเพียงการเตรียมการเท่านั้นที่ซูซูกิจะนำมันมาใช้ในครึ่งหลัง แม้นจะยังไม่ได้ทำการทดสอบมากพอว่ามันสเถียรมากมายขนาดใหน แม้นจะเป็นการเริ่มต้นที่คู่แข่งขโยกหนีไปแล้วร่วมสามปีก็ตาม แต่มันก็ยังเห็นการขยับตัวของซูซูกิว่า ยังเอานะ เอานะ

ติดตามครึ่งหลังของฤดูกาลว่า Suzuki GSX-RR ท้ายเตี้ยเวอร์ชั่น จะอาละวาดได้ขนาดใหน แต่ทันเวลามั้ยที่จะรั้งเข้มขัดแชมป์โลกเอาไว้กับพวกเค้าต่ออีกปี...

นะจ๊ะ นะจ๊ะ !!!

MTF มีกลุ่มเปิดแล้ว
https://www.facebook.com/groups/668603413931376/

ขอขอบคุณภาพประกอบข่าวจาก Racesport.nl
สิงห์ คอเปอร์เรชั่น ผู้สนับสนุนรายการแข่งขันโมโตจีพี อย่างเป็นทางการ #singha #singhaworldofspeed #singhacorporation #motogp #Singhaworldofspeed2021 #singhamotorsport #singhamotoGP

Sign
NEXT RACE: Gran Premio GoPro de Aragon